วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Control Panel

คอนโทรลพาเนล (Control Panel) ของ Hosting คืออะไร

            Control Panel (คอนโทรลพาเนล) หมายถึงระบบหน้าจอสำหรับควบคุม ซึ่งในกรณีของ Hosting นั้น ก็จะเป็นระบบที่ใช้งานเพื่อควบคุมส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ Hosting ที่เราใช้บริการอยู่ โดย Control Panel ที่ทาง Naxza Web Hosting เลือกใช้งานนั้นจะเป็น Control Panel ชือว่า DirectAdmin ซึ่งจะทำงานผ่าน Port 2222 ตรงนี้เองที่ทางท่านลูกค้าบางท่านอาจจะประสบปัญหาในการใช้งาน ซึ่ง Internet หรือ Network ขององค์กรอาจจะมีการ Block Port 2222 เอาไว้ วิธีการแก้ไขอาจจะต้องแจ้งทางผู้ดูแลระบบ Network ให้ทำการ Allow Port หรือเปิด Port 2222 

Control Panel Hosting สามารถที่จะทำการแก้ไขรหัสผ่านต่าง ๆ เช่นรหัสผ่านของการเข้าระบบ Control Panel โดยครั้งแรกทางเราจะจัดส่ง User และ Password ให้ จากนั้นทางลูกค้าจะสามารถ Login ผ่านเข้าระบบ Control Panel Hosting ได้ และสามารถแก้ไขรหัสผ่านได้เอง ไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่านในส่วนของ E-mail Account ต่าง ๆ รวมถึงสามารถเพิ่มเติมชื่อ E-mail Account ได้ไม่จำกัด สามารถกำหนดปริมาณการใช้งานของแต่ละ E-mail Account ได้ สามารถกำหนด User และ Password ของ FTP เพื่อใช้ในการ upload และ download ข้อมูลต่าง ๆ สามารถจัดการฐานข้อมูล MySQL ผ่านโปรแกรม PhpMyAdmin ได้ สามารถสร้างเงื่อนไขการกรอง Spam Mail หรือ Anti Spam Mail Filtering ได้ด้วยตัวเอง 

Control Panel

Control  Panel
1.  คอนโทรลพาเนล (Control  Panel)
            คอนโทรลพาเนล  คือ  แผงควบคุม  ใช้สำหรับปรับค่าต่าง ๆ ที่ใช้ในวินโดวส์และแต่ละไอ      คอนในคอนโทรลพาเนล  จะปรับแต่งค่าไม่เหมือนกันซึ่งการปรับแต่งคอนโทรลพาเนลมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.1  การเปิดใช้  Control  Panel
            1.  คลิกปุ่ม  Start   เลือก   Control  Panel
            2.  จะปรากฏหน้าต่าง  Control  Panel  แบบ   Category  View  จะมีลักษณะที่แยกตามกลุ่มของการปรับแต่งคอนโทรลพาเนล
            3.  ถ้าต้อกงารเปลี่ยนหน้าต่าง  control  panel  ให้เป็นแบบ  Classic  View  ให้คลิกที่  Switch  to  Classic  Veiw  ทางด้านซ้าย
            4.  หน้าต่าง  Control  Panel  ก็จะเปลี่ยนหน้ามาไปเป็นแบบ  Classic  View  จะทำให้มองเห็นไอคอนต่าง ๆ  ได้มากกว่า  แบบ  Category  View
            5.  ถ้าอยากเปลี่ยนไปใช้แบบ  Category  View  ให้คลิกที่  Switch  to  Category  View  หน้าตาของ control  panel  จะกลับมาเป็นแบบ  Category  View  เหมือนเดิม
2.  การปรับแต่งเมาส์
2.1  การปรับแต่งการคลิกเมาส์
            1.  บนหน้าต่าง  Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  Mouse
            2.  คลิกแท็ป  Buttons
            3.  Buttons  configuration  ถ้าเราคลิกเลือกให้มีเครื่องหมายถูกในช่องนี้จะสลับปุ่มการทำงาน  ซ้าย – ขวา  ของเมาส์
            4.  Double  Click  speed  ปรับความเร็วในการดับเบิ้ลคลิกว่าจะให้ช้า (slow)  หรือเร็ว (Fast)
            5.  Click  Lock        ถ้าเราคลิกเลือกให้มีเครื่องหมายถูกในช่องนี้  สามารถคลิกลากโดยไม่ต้องคลิกเมาส์ค้างไว้  เมื่อเราต้องการปล่อยให้คลิกเมาส์อีกครั้ง
            6.  Test  area  เป็นพื้นที่ทดสอบการใช้เมาส์ขณะที่เราปรับแต่ง
            7.  เมื่อทำการปรับแต่งเสร็จแล้วคลิกปุ่ม  OK
2.2  การปรับแต่งความเร็วในการเลื่อนเมาส์
            1.  บนหน้าต่าง  control  panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  Mouse
            2.  คลิกแท็ป  Pointer  Options
            3.  Motion  ปรับระดับความเร็วในการเลื่อนเมาส์
            4.  ถ้าเราคลิกเลือกเครื่องหมายถูกในช่องนี้  เมื่อเราเลื่อนเมาส์เข้าไปในไดอะล็อกบ็อกซ์ให้เมาส์ชี้ปุ่มที่เป็น  Default  โดยอัตโนมัติ  ทำให้เลื่อนเมาส์น้อยลง
            5.  ปรับความยาวของเงาขณะที่ลากเมาส์
            6.  ถ้าคลิกเลือกเครื่องหมายถูกในช่องนี้  เมาส์จะถูกซ่อนขณะที่พิมพ์ข้อความ
            7. ถ้าคลิก   เลือกเครื่องหมายถูกในช่องนี้     ในกรณีที่มองหาเมาส์ไม่เจอ จะสามารถแสดงตำแหน่งของเมาส์ได้เมื่อเรากด  Ctrl
            8.  เมื่อทำการปรับแต่งเสร็จแล้วคลิกปุ่ม  OK
3.  การปรับแต่งคีย์บอร์ด
1.  บนหน้าต่าง Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน Keyboard
2.  คลิกแท็ป  Speed
3.  ปรับช่วงเวลาขณะที่เรากดคีย์บอร์ดค้างไว้ก่อนที่ตัวอักษรจะซ้ำ
4.  ปรับเวลาเมื่อกดคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วจะให้ตัวอักษรที่ขึ้นซ้ำมีความเร็วแค่ไหน
5.  ช่องนี้ใช้สำหรับทดลองกดคีย์บอร์ด
6.  ปรับความเร็วในการกระพริบของเคอร์เซอร์
7.  เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม  OK
4.  การดูข้อมูลสเป็คของเครื่อง
          การเข้าดูข้อมูลสเป็คของเครื่องทำให้เราสามารถรู้เบื้องต้นว่าเครื่องของเราสเป็คอะไร ซึ่งการเข้าดูจะเป็นการบอกสเป็ค    มีรายละเอียดดังนี้
1.   บนหน้าต่าง  Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  System
2.  คลิกแท็ป  General
3.  System  เป็นส่วนที่บอกว่าเป็นเครื่องรุ่นใด  Home  Editor  หรือ  Proferessional
4.  Registered  เป็นส่วนที่บอกชื่อผู้ใช้หรือหน่วยงานและรหัสผลิตภัณฑ์
5.  Computer  เป็นส่วนที่บอกสเป็กของเครื่องมี  CPU  ความถี่  และความจุ  RAM
6.  คลิกปุ่ม  OK
5.  การตั้งค่าวันที่ เวลา  และ Fime  Zone
          เราสามารถปรับตั้งวันที่เวลาและ Time  Zone  ได้  การปรับตั้ง  Time  Zone  ต้องปรับให้ตรงกับประเทศของเราจึงจะได้เวลาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน  มีรายละเอียดดังนี้
1.  บนหน้าต่าง  Control  Panel  ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  Date  and  Time
2. จะปรากฏหน้าต่าง  Date  and  Time  Properties
3.  ตั้งค่าเดือน
4.  ตั้งค่าปี
5.  ตั้งค่าวัน
6.  ตั้งค่าเวลา
7.  คลิกแท็ป  Time  Zone
8.  คลิกเลือกเขคเวลา ของเราเลือก  (GMT+07.00)Bangkok,Honoi,Jakarta
9. คลิกปุ่ม  OK
6.  โปรแกรมในวินโดวส์  XP
         โปรแกรมในวินโดวส์  XP  จะกล่างถึงโปรแกรมบางโปรแกรมที่อยู่ใน  Accessories   โปรแกรมที่มีความจำเป็น หรือใช้งานบ่อยเท่านั้น
6.1  การเข้าใช้งานโปรแกรม
1.  คลิกปุ่ม  Start  เลือก  All Programs
2.  เลือก  Accessories
3.  ก็จะพบโปรแกรมใช้งานอยู่ใน  Accessories 
6.2  Accessbility
              โปรแกรมในกลุ่มนี้จะเป็นโปรแกรมที่ช่วยปรับวินโดวส์ให้เหมาะกับการใช้งาน และเป็นโปรแกรมที่ปรับวินโดวส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่พิการอีกด้วยมีโปรแกรมย่อยดังนี้
1.  Accessibility  Wizard  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการปรับแต่งการมอง   การฟัง  และการเคลื่อนไหว
2.  Magnifier  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการขยายหน้าตาของวินโดวส์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
3.  Narrator  เป็นโปรแกรมที่ช่วยอธิบายส่วนต่าง ๆ  บนหน้าจอบริเวณที่เมาส์ชี้อยู่  แต่ออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น  สำหรับผู้มีปัญหาทางด้านสายตา
4.On - Screen Keyboard      เป็นโปรแกรมที่แสดงแป้นคีย์บอร์ดบนหน้าจอ เพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถกดคีย์บอร์ดใช้เมาส์    คลิกปุ่มคีย์บอร์ดบนหน้าจอแทน
5.  Utility  Manager  เป็นโปรแกรมที่ช่วยการปิดหรือเปิดโปรแกรม  Magnifier, Narrator  และ  On – Screen  Keyboard  ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
6.3  Communications  Folders
             Communications  Folders   เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเชื่อมต่ดกับอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายต่าง ๆ  หรือต่อกับผู้ใช้คนอื่นที่อยู่ในระบบ Network  ได้อีกด้วย  มีโปรแกรมต่าง ๆ ดังนี้
1.  Hyper  Terminal  เป็นโปรแกรมสื่อสารที่ผ่านทางสายโทรศัพท์  เพื่อติดต่อกับเครื่องอื่น
2.  Network  Connections  เป็นโปรแกรมที่ใช้ปรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
3.  Network  Setup  Wizard  เป็นโปรแกรมช่วยสร้างการเชื่อมต่อหรือติดตั้งระบบเน็ตเวิร์กต่าง ๆ
4.  New  Connection  Wizard  เป็นโปรแกรมที่ช่วนสร้างการเชื่อมต่ดเน็ตเวิร์กใหม่
5.  Remote  Desktop  Connection  เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก  เพื่อทำการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
6.4  Entertainment  Folder
                 Entertainment  Folder   เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการดูหนังฟังเพลง  เกี่ยวกับไฟล์เสียงและวีดีโอ  ซึ่งมีโปรแกรมต่าง ๆ  ดังนี้
1.  Sound  Recorder  เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกเสียง
2.  Volume  Control  เป็นโปรแกรมที่ใช้ปรับความดับของเสียงและปรับความสมดุล  ซ้าย - ขวา
3.  Windows  Media  Player  เป็นโปรแกรมที่ใช้เล่นไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น  การเล่นแผ่น VCD  คาราโอเกะ  เป็นต้น
6.5  System   Tools  Folder
            System   Tools  Folder    เป็นกลุ่มของโปรแกรมทีใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
  ซึ่งมีโปรแกรมต่าง ๆ  ที่จำเป็นดังนี้
1.Disk  Cleanup เป็นโปรแกรมที่ใช้ลบไฟล์ที่ไม่ใช้เพื่อทำให้พื้นที่ใน ฮาร์ดดิสก์
ของเราเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2. Disk   Defragmenter เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์
 เพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเร็วขึ้น
6.6  Address  Book
                 Address  Book        เป็นโปรแกรมที่ใช้ใส่และจัดการข้อมูลที่เป็นชื่อ
   หรือที่อยู่และอีเมล์แอดเดสของผู้ที่เราต้องการจะติดต่อ  จะใช้ร่วมกับโปรแกรม  Outlook  Express
    6.7  Calculator
             Calculator  เป็นโปรแกรมเครื่องคิดเลข  ใช้สำหรับคิดเลขทั่ว ๆ ไป
และยังสามารถคำนวณเลขขั้นสูงกว่าการ  บวก  ลบ  คูณ หาร ธรรมดาได้อีกด้วย
 6.8  NotePad
            NotePad  เป็นโปรแกรมที่ใช้แก้ไขไฟล์ที่เป็นข้อความธรรมดา  (Text  editor)
 ซึ่งไม่สามารถจัดรูปแบบข้อความได้  แต่สามารถเปลี่ยนขนาด  และรูปแบบ  ของตัวอักษร(Font)  ได้
6.9  Paint
            เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ  ตัดภาพอย่างง่ายเช่นการวาดรูปวงกลม  สี่เหลี่ยม
 การใส่สีต่าง ๆ  และยังสามารถจัด  หมุนภาพตกแต่งภาพได้อีกด้วย
6.10  WordPad
              เป็นโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์ที่มีความสามารถขั้นพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้ในการพิมพ์งานหรือรายงานและยังสามารถเปิดไฟล์ของ  Microsoft  Word
ขึ้นมาใช้งานได้อีกด้วย

Control Panel

ข้ามมาที่ฟีเจอร์คู่บุญของวินโดวส์อย่าง Control Panel กันบ้าง ช่วงหลังๆ (ถ้าจำไม่ผิดตั้งแต่ XP) ไมโครซอฟท์หันมาเรียงตัวเลือกใน Control Panel ตามหมวดหมู่ ผลที่ตามมาคือ “หาอะไรไม่ค่อยเจอ” ซึ่ง Windows 7 ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกันสักเท่าไร
หลายคนแก้ปัญหาโดยการปรับให้มันแสดงแบบไอคอน แต่หลังๆ นี่คงไม่ไหวแล้วมั้ง ตอนนี้ Control Panel ของ Windows 7 มีตัวเลือกเกือบ 50 อัน เรียงยังไงก็คงดูยาก 
ทางแก้คือ search มันเลยครับ เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว หาอะไรก็เจอ จากภาพจะเห็นว่าผลการค้นหาไม่ได้แสดงเฉพาะไอคอน แต่แสดงตัวเลือกที่อยู่ในไอคอนแต่ละอันของ Control Panel ให้ด้วย
ฟีเจอร์นี้คู่แข่งอย่าง Mac OS X ทำได้ใน 10.4 Tiger พร้อมกับฟีเจอร์ Spotlight ฝั่งวินโดวส์เริ่มทำได้ตอน Vista ตอนแรกยังไม่สมบูรณ์ทั้งคู่ (ค้นไม่ค่อยเจอ, ช้า) แต่ตอนนี้เข้าสู่สถานะที่ใช้งานได้จริงแล้ว
Control Panel ของ Windows 7 เพิ่มตัวเลือกใหม่ๆ ให้อีกหลายอัน เช่น Location and Other อันนี้เป็นจุดเปลี่ยนเล็กๆ ของ Windows 7 ครับ หลายๆ คนน่าจะจำหน้าจอ Add/Remove Programs ได้ว่ามันจะมีหน้าจอย่อยสำหรับปรับแต่งองค์ประกอบของวินโดวส์ (เช่น เกม หรือ Accessories) ใน Vista มันถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Features แต่หน้าที่ยังเหมือนเดิม
พอมาถึง Vista ไมโครซอฟท์ปรับโฉมหน้าตาให้มันเป็น Aero และเพิ่มฟีเจอร์ด้านป้องกันมัลแวร์เข้ามาให้ (รวมเข้ามาจาก Windows Defender) แต่แนวคิดหลักไม่มีอะไรเปลี่ยน
ใน Windows 7 ไมโครซอฟท์ขยายขอบเขตความรับผิดชอบของมันออกไป จากที่เคยดูแลเฉพาะด้านความปลอดภัย ก็รวมเรื่องการแก้ปัญหาทางเทคนิคอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์ และการแบ็คอัพ เข้ามาด้วย ชื่อของมันเลยเปลี่ยนเป็น
Windows Action Center
ไอคอนของ Windows Action Center เป็นรูปธงสีขาว ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในระบบจะแสดงรูปกากบาทสีแดงประกอบให้เห็น
เมื่อคลิกที่ไอคอนจะแสดงหน้าต่างของ Windows Action Center ดังภาพ จะเห็นว่ามันถูกแบ่งเป็นส่วน Security กับ Maintenance และใช้โค้ดสีบ่งบอกถึงความร้ายแรงของปัญหาคำเตือนให้ลงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสยังมีอยู่เช่นเดิม (เมื่อกดปุ่มแล้วจะเข้าไปยังหน้าWindows 7 consumer security software providers) ส่วนคำเตือนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ มักเป็นเรื่องไดรเวอร์ ซึ่งมันจะขึ้นเตือนเวลามีฮาร์ดแวร์ใหม่แต่หาไดรเวอร์ไม่พบ หรือพบไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่ (เรื่องไดรเวอร์และฮาร์ดแวร์ ผมจะเขียนถึงในตอนถัดๆ ไป) ไมโครซอฟท์เลือกใช้คำว่า “solution” สำหรับข้อความชนิดนี้
จากนั้นเวลาเอา USB drive ไปเสียบ ก็จะเห็นไอคอนกุญแจดังภาพ (ซ้ายคือยังไม่ได้ปลดล็อค ขวาคือปลดล็อคแล้ว)

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
      ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
      การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ 
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย 
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง 
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

ตัวอย่างอาการเสียของจอคอมพิวเตอร์
- สีเพี้ยน
ลักษณะอาการคือสีไม่ตรงตามสีที่ควรจะเป็นเช่นไม่มีสีแดงไม่มีสีเขียวหรือไม่มีสีฟ้า อาการนี้มักจะเกิดจากลายปริ้นซ์บริเวณ Socket คอหลอดหลุดร่อนครับเพราะว่าเวลาที่วงจรส่วนนี้ทำงานนั้นมีไฟเลี้ยงมากกว่า 100 โวท์ลครับหรือไม่ก็ พวกทรานซิสเตอร์ หรือ ไอซี ที่เป็นภาค RGB Drive หรือ RGB Amp ชอร์ทเสียครับ แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือสาย DSUB หรือสาย VGA ขาดครับ

- ไฟเข้าสัญญานภาพมาแต่ภาพไม่ขึ้น
ลักษณะอาการคือไฟเข้าสังเกตได้จากไฟ LED ที่กระพริบอยู่บางรุ่นก็จะไม่กระพริบครับอันนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ อาการนี้มีสาเหตุหลายอย่างครับเริ่มจาก FET ที่ทำหน้าที่ Lach ไฟเลี้ยงให้ FBT ชอร์ท โดยมากจะเป็นเบอร์ IRF630จึงทำให้เครื่องสั่ง Protection อยู่สังเกตได้จากไฟ LED จะกระพริบครับ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ตัวต้านทาน ที่ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้ FET หรือ FBT ขาด อันนี้ต้องวัดไฟเลี้ยงหรือถอด ตัวต้านทานมาวัดในกรณีที่ FET ไม่มีไฟเลี้ยงครับ อีกสาเหตุยอดฮิตก็คือ ทรานซิสเตอร์ Horizoltal Output ชอร์ท หรือ รั่วครับ ทรานซิสเตอร์ตัวนี้มีสองแบบครับจึงมีวิธีวัดต่างกัน คือแบบที่มี Damper Diode และแบบที่ไม่มี Damper Diode แบบที่ไม่มี แดมป์นั้น วิธีการวัดเหมือนทรานซิสเตอร์ทั่วไป มีอยู่ด้วยกันหลายเบอร์ครับ เช่น BU2508 AF ส่วนแบบที่มี แดมป์นั้นจะมีไดโอด ต่ออยู่ระหว่างขา Emittor และขา Colecttor โดย จะต่อ อาโนด ที่ขา E และต่อ คาโธด ที่ขา C ตัวอย่างเช่นเบอร์ BU2508DF และอีกสาเหตูหนึ่งที่หนักเอาการเลยก็คื FBT เกิดการชอร์ทรอบขึ้นครับ

- มีเส้นแนวนอนเส้นเดียวกลางจอ
อาการนี้เกิดจากภาคขยายสัญญานแนวตั้งชำรุดครับไม่ว่าจะเป็น ไอซี Vertical เสียหรือว่า Yoke Vert ใหม้หรือชอร์ท หรือบางครั้งก็อาจจะเกิดจากภาคจ่ายไฟที่จ่ายไฟไปเลี้ยงภาค Vert จำพวกไดโอด Rectiflier หรือว่าจะเป็นตัวบรรดาต้านทานทั้งหลาย

- สีเลอะ
อาการนี้เกิดจากสนามแม่เหล็กตกค้างก่อนอื่นเราต้องสังเกตก่อนว่าสีเลอะแบบเบลอๆ หรือเลอะแบบกระจัดกระจาย ถ้าเลอะแบบเบลอหาโฟกัสสีไม่ได้ก็จะเป็นที่ Conevertgent แต่ถ้าเลอะแบบกระจัดกระจายก็มักจะเกิดจาก Degaussing เสียหรือไม่ทำงาน ทดสอบง่ายๆครับคือลองปิดจอแล้วเปิดใหม่จะมีเสียงดัง หึ่ง หรือไม่ก็ เลือกเมนู Degaussจากเมนูของจอ Monitor แล้วกดดู ถ้าเกิดการสั่นของจอภาพแล้วอาการสีเลอะหายไปก็แสดงว่า Degauss ไม่เสีย แต่ถ้าภาพไม่สั่นก็แสดงว่าเสีย แต่ถ้าภาพสั่นแล้วไม่หาย ก็ต้องหาที่ล้างสนามแม่เหล็กมาล้างจอครับ นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลายสาเหตุครับเช่นเราตั้งจอไว้ใกล้กับแหล่งสนามแม่เหล็ก หรือ ตัดกับสนามแม่เหล็กโลกครับ ก็แก้ไขได้ง่ายๆ ก็คือลองหันจอไปมาแล้วดูว่าหายมั้ยถ้าดีขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงก็ให้หาที่ตั้งจอใหม่ครับ

- ภาพเบลอ
อาการ นี้เกิดจากชุดโฟกัสของ FBT โดยตรงเลยครับถ้าเบลอนิดหน่อยโดยปกติแล้วสามารถปรับ โฟกัสได้แต่ถ้าเบลอมากหรือเปิดสักพักแล้วเบลออันนี้ต้องเปลี่ยน FBT ครับแต่ถ้างบน้อยไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้โดยหา FBT เก่าที่เสียแล้วแต่ในส่วนของโฟกัส และ ไฟScreen ยังใช้งานได้อยู่มาต่อขนานกับ FBT ตัวที่เบลอโดยเอาแต่ชุดโฟกัสและ สกรีน ของFBT อีกตัวมาใช้ ส่วนวงจร Highvolt และระบบ สวิทชิ่งก็ยังคงใช้ตัวเก่าที่เบลออยู่เหมือนเดิมวิธีนี้ประหยัดมากเลยครับ แต่อาจจะต้องใช้ทักษะและประสบการณ์สักหน่อยนะครับเพราะว่าอันตรายมาก