วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
      ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
      การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ 
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย 
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง 
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

ตัวอย่างอาการเสียของจอคอมพิวเตอร์
- สีเพี้ยน
ลักษณะอาการคือสีไม่ตรงตามสีที่ควรจะเป็นเช่นไม่มีสีแดงไม่มีสีเขียวหรือไม่มีสีฟ้า อาการนี้มักจะเกิดจากลายปริ้นซ์บริเวณ Socket คอหลอดหลุดร่อนครับเพราะว่าเวลาที่วงจรส่วนนี้ทำงานนั้นมีไฟเลี้ยงมากกว่า 100 โวท์ลครับหรือไม่ก็ พวกทรานซิสเตอร์ หรือ ไอซี ที่เป็นภาค RGB Drive หรือ RGB Amp ชอร์ทเสียครับ แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือสาย DSUB หรือสาย VGA ขาดครับ

- ไฟเข้าสัญญานภาพมาแต่ภาพไม่ขึ้น
ลักษณะอาการคือไฟเข้าสังเกตได้จากไฟ LED ที่กระพริบอยู่บางรุ่นก็จะไม่กระพริบครับอันนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ อาการนี้มีสาเหตุหลายอย่างครับเริ่มจาก FET ที่ทำหน้าที่ Lach ไฟเลี้ยงให้ FBT ชอร์ท โดยมากจะเป็นเบอร์ IRF630จึงทำให้เครื่องสั่ง Protection อยู่สังเกตได้จากไฟ LED จะกระพริบครับ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ตัวต้านทาน ที่ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้ FET หรือ FBT ขาด อันนี้ต้องวัดไฟเลี้ยงหรือถอด ตัวต้านทานมาวัดในกรณีที่ FET ไม่มีไฟเลี้ยงครับ อีกสาเหตุยอดฮิตก็คือ ทรานซิสเตอร์ Horizoltal Output ชอร์ท หรือ รั่วครับ ทรานซิสเตอร์ตัวนี้มีสองแบบครับจึงมีวิธีวัดต่างกัน คือแบบที่มี Damper Diode และแบบที่ไม่มี Damper Diode แบบที่ไม่มี แดมป์นั้น วิธีการวัดเหมือนทรานซิสเตอร์ทั่วไป มีอยู่ด้วยกันหลายเบอร์ครับ เช่น BU2508 AF ส่วนแบบที่มี แดมป์นั้นจะมีไดโอด ต่ออยู่ระหว่างขา Emittor และขา Colecttor โดย จะต่อ อาโนด ที่ขา E และต่อ คาโธด ที่ขา C ตัวอย่างเช่นเบอร์ BU2508DF และอีกสาเหตูหนึ่งที่หนักเอาการเลยก็คื FBT เกิดการชอร์ทรอบขึ้นครับ

- มีเส้นแนวนอนเส้นเดียวกลางจอ
อาการนี้เกิดจากภาคขยายสัญญานแนวตั้งชำรุดครับไม่ว่าจะเป็น ไอซี Vertical เสียหรือว่า Yoke Vert ใหม้หรือชอร์ท หรือบางครั้งก็อาจจะเกิดจากภาคจ่ายไฟที่จ่ายไฟไปเลี้ยงภาค Vert จำพวกไดโอด Rectiflier หรือว่าจะเป็นตัวบรรดาต้านทานทั้งหลาย

- สีเลอะ
อาการนี้เกิดจากสนามแม่เหล็กตกค้างก่อนอื่นเราต้องสังเกตก่อนว่าสีเลอะแบบเบลอๆ หรือเลอะแบบกระจัดกระจาย ถ้าเลอะแบบเบลอหาโฟกัสสีไม่ได้ก็จะเป็นที่ Conevertgent แต่ถ้าเลอะแบบกระจัดกระจายก็มักจะเกิดจาก Degaussing เสียหรือไม่ทำงาน ทดสอบง่ายๆครับคือลองปิดจอแล้วเปิดใหม่จะมีเสียงดัง หึ่ง หรือไม่ก็ เลือกเมนู Degaussจากเมนูของจอ Monitor แล้วกดดู ถ้าเกิดการสั่นของจอภาพแล้วอาการสีเลอะหายไปก็แสดงว่า Degauss ไม่เสีย แต่ถ้าภาพไม่สั่นก็แสดงว่าเสีย แต่ถ้าภาพสั่นแล้วไม่หาย ก็ต้องหาที่ล้างสนามแม่เหล็กมาล้างจอครับ นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลายสาเหตุครับเช่นเราตั้งจอไว้ใกล้กับแหล่งสนามแม่เหล็ก หรือ ตัดกับสนามแม่เหล็กโลกครับ ก็แก้ไขได้ง่ายๆ ก็คือลองหันจอไปมาแล้วดูว่าหายมั้ยถ้าดีขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงก็ให้หาที่ตั้งจอใหม่ครับ

- ภาพเบลอ
อาการ นี้เกิดจากชุดโฟกัสของ FBT โดยตรงเลยครับถ้าเบลอนิดหน่อยโดยปกติแล้วสามารถปรับ โฟกัสได้แต่ถ้าเบลอมากหรือเปิดสักพักแล้วเบลออันนี้ต้องเปลี่ยน FBT ครับแต่ถ้างบน้อยไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้โดยหา FBT เก่าที่เสียแล้วแต่ในส่วนของโฟกัส และ ไฟScreen ยังใช้งานได้อยู่มาต่อขนานกับ FBT ตัวที่เบลอโดยเอาแต่ชุดโฟกัสและ สกรีน ของFBT อีกตัวมาใช้ ส่วนวงจร Highvolt และระบบ สวิทชิ่งก็ยังคงใช้ตัวเก่าที่เบลออยู่เหมือนเดิมวิธีนี้ประหยัดมากเลยครับ แต่อาจจะต้องใช้ทักษะและประสบการณ์สักหน่อยนะครับเพราะว่าอันตรายมาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น