รุ่นนี้ผมเรียกกันในกลุ่มว่ารุ่นหน้าขาว(มาโครเท็ค หรือMAครับ)เป็นตัวท๊อปสุดในเวลานั้นตัวรองลงมาคือ(รุ่นหน้าดำหรือเรียก *** กอย่างว่าMT)ภาบาต่างชาติก็เรียกรุ่น (ไมโครเท็ค )วงจรภายในคล้ายกันครับเพียงแต่รุ่นMAหน้าขาวเพิ่มเติมภาคโปรเท็คเข้ามาแต่หลักการซ่อมใช้ร่วมกันได้เกือบทุกๆรุ่นครับในที่นี้ผมจะนำรุ่นMTและMAมาเป็นต้นแบบและรุ่นอื่นๆจะมีหลักการคล้ายๆกันรุ่นMAนี้ถ้าการระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องหรือแร็คช้าอาจทำให้เกิดอาการไฟแดงข้างใดข้างหนึ่งหรี่ลงแล้วดับไป จะทำให้วงจรออดิฟ(odep)สั่งลดกำลังลงทันทีเพื่อป้องกันวงจรเอาท์พุทพัง สาเหตุมาจากลมระบายออกจากแผ่นซิ้งค์ไม่ทันเมื่ออยู่ในแร็คลมจากพัดลมในเครื่องจะถูกดูดผ่านช่องด้านล่างของหม้อแปลงทั้ง2ลูกเพื่อให้หม้แปลงเย็นลง แล้วลมจะวนขึ้นด้านบนเป่ากระทบฝาเครื่องด้านบนกระจายออกผ่านฮีสซิ้งค์ทั้ง2ข้างออกสู่ภายนอกเครื่องลักษณะคล้ายช่องลมของแอร์บ้าน ..เคยมีช่างติดตั้งหลายๆคนไปติดตั้งให้ลูกค้าแล้วเปิดฝาบนของแอมป์ไว้เลย อยากจะบอกว่าไม่ถูกต้องน่ะครับเพราะลมจะไม่ไหลผ่านฮีสซิ้งคจะทำให้เพาเวอร์แอมป์crownน็อคเร็วกว่าที่ควรจะเป็นเพราะทรานซิสเตอร์เอ้าท์พุทร้อนเร็วกว่าเดิมมาก...ทั้งหมดนี้มีวิธีการแก้ไขไม่ให้แอมป์ crown น็อคผมได้เคยแนะนำทีมงานหนึ่งที่ใช้แอมป์crown ma-3600vzขับsubไปร่วมทัวร์เดินสายคอนเสริต์ทั่วประเทศ (สมัยวงคาราบาวกำลังโด่งดัง)ได้ผลมาแล้วเล่นแล้วไม่ตัดไม่น็อคแม้นกลางวันก็ไม่ต้องกลัว.... ไว้จะทะยอยมาลงรายละเ *** ยดให้ทราบในตอนต่อไปน่ะครับ | |
ภาคจ่ายไฟแยกคนละฝั่งมีเพียงขั้ว บวกกับลบ เท่านั้นที่ไปจ่ายเลี้ยงวงจร และจะเห็นว่าค่าคาปาซิสเตอร์ฟิลเตอร์ไม่เกิน10000ไมโครทำไมเสียงถึงไม่ฮัมแถมดังหนักแน่นเมื่อนำมาขับซับเบส สะเทือนเข้าถึงอกไม่เชื่อลองเปิดเทียบกับแอมป์ทั่วๆไปดูที่ความดังเท่าๆกันจะเห็นความแตกต่างรู้สึกได้และลำโพงจะไม่เต้นโยนไปมาให้เห็น การหยุดยั้งลำโพงเครื่องคาวน์จะทำได้ไวมากๆมองด้วยตาข้างๆลำโพงจะเห็นถึงความแตกต่างจากแอมป์ยี่ห้ออื่นๆ ตรงนี้นี่เองที่ทำให้มืออาชืพหลายคนเลือกใช้ เพาเวอร์แอมป์ยี่ห้อ คาวน์มาขับซับเบส เทคนิคนี้คาวน์ออกแบบวงจรมาถือว่าโบราณมากแต่ก็ยังไม่มีเจ้าอืนที่จะสามารถเรียนแบบได้ (นี่คือข้อมูลจากฝรั่งที่มาสอนผมในเวลานั้นพูดไว้)ปัจจุบัน คาวน์ผลิตแอมป์รุ่น I-TECHซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อหลีกหนีคำกล่าวที่ว่า.. คาวน์ใช้วงจรโบราณผลิตแอมป์มาหลายรุ่นไม่เคยเปลี่ยนแปรงวงจรเลย เขาเลยต้องผลิต K2ออกมาแล้วตามด้วย I-TECH เพื่อคำกล่าวนี้ว่า คาวน์ก็ผลิตวงจรใหม่ๆได้และก็ไม่มีใครตามทัน ที่ต้องใช้วงจรรุ่นเก่าๆอยู่ก็เพราะวงจรเก่านั้นเสียงเขาดีอยู่แล้ว |
หลักการซ่อมภาคขยายเสียงตามแบบฉบับของผมผมแยกตาม power output ครับ คือขยายด้วยทรานซิสเตอร์หรือว่ามอสเฟต
หรือว่าไอซีครับ เพราะรุ่นหลอดคงไม่ค่อยได้เจอกันแล้วถ้าเป็น 1000ๆวัตต์ ก็จะเป็นมอสเฟตดาร์ลิ่งตันกัน(เพาวอร์ซ้อนกัน)
แต่ตามหลักการที่เป็นสากลคือแยกออกเป็น
OTL = OUTPUT TRANSFORMER LESS วงจรขยายขับลำโพงแบบไม่ใช้หม้อแปลง วัดไฟที่จุดต่อลำโพงเท่ากับครึ่งหนึ่งของไฟเลี้ยงวงจร DC นิยมใช้ตัวเก็บประจุค่าสูง ต่อเข้ากับลำโพง
OCL = OUTPUT CAPACITOR LESS วงจรขยายขับลำโพงแบบไม่ใช้ตัวเก็บประจุ วัดไฟที่จุดต่อลำโพงเท่ากับ 0 VOLT ของไฟเลี้ยงวงจร นิยม ต่อเข้ากับ ขดลวดพันบน ตัวต้านทานก่อนเข้าลำโพง เสียงดีกว่าแบบ OTL แต่ถ้าจะซื้อมาใช้ควรหาวงจรป้องกันลำโพงมาต่อกลางก่อนเข้าลำโพงด้วย
BTL = BRIDGE TRANSFORMER LESS วงจรขยายแบบ OTL 2 ชุด ต่อกัน ขับลำโพงแบบไม่ใช้หม้อแปลง
หลักการซ่อมแอมป์เมื่อเรารู้แบบนี้ว่าเอ้าพุทต้องได้แบบนี้ ก็จะทำให้เราซ่อมได้ง่ายขึ้น ด้วยการถอดชุดเพาเวอร์
ออกก่อนครับเราซ่อมชุดไดร์วเสียก่อนแล้วค่อยใส่เพาเวอร์ลงไป ก็คือทรานที่ติดกับซิงค์ระบายความร้อนนั้นแระครับ
ถ้าชุดไดร์วเอ้าพุทยังไม่ได้ก็ไม่ต้องใส่เพาเวอร์ไม่งั้นคงต้องเสียเพาเวอร์อีกหลายคู่ มือใหม่ซ่อมแอมป์หลายท่านคง
มีประสบการณ์ การเสียเงินเมื่อซ่อมแอมป์แบบนี้ ถ้าผมได้เคสแอมป์มาจะมาทำให้ดูครับเทคนิคการซ่อมและทริคต่างๆครับ
หรือว่าไอซีครับ เพราะรุ่นหลอดคงไม่ค่อยได้เจอกันแล้วถ้าเป็น 1000ๆวัตต์ ก็จะเป็นมอสเฟตดาร์ลิ่งตันกัน(เพาวอร์ซ้อนกัน)
แต่ตามหลักการที่เป็นสากลคือแยกออกเป็น
OTL = OUTPUT TRANSFORMER LESS วงจรขยายขับลำโพงแบบไม่ใช้หม้อแปลง วัดไฟที่จุดต่อลำโพงเท่ากับครึ่งหนึ่งของไฟเลี้ยงวงจร DC นิยมใช้ตัวเก็บประจุค่าสูง ต่อเข้ากับลำโพง
OCL = OUTPUT CAPACITOR LESS วงจรขยายขับลำโพงแบบไม่ใช้ตัวเก็บประจุ วัดไฟที่จุดต่อลำโพงเท่ากับ 0 VOLT ของไฟเลี้ยงวงจร นิยม ต่อเข้ากับ ขดลวดพันบน ตัวต้านทานก่อนเข้าลำโพง เสียงดีกว่าแบบ OTL แต่ถ้าจะซื้อมาใช้ควรหาวงจรป้องกันลำโพงมาต่อกลางก่อนเข้าลำโพงด้วย
BTL = BRIDGE TRANSFORMER LESS วงจรขยายแบบ OTL 2 ชุด ต่อกัน ขับลำโพงแบบไม่ใช้หม้อแปลง
หลักการซ่อมแอมป์เมื่อเรารู้แบบนี้ว่าเอ้าพุทต้องได้แบบนี้ ก็จะทำให้เราซ่อมได้ง่ายขึ้น ด้วยการถอดชุดเพาเวอร์
ออกก่อนครับเราซ่อมชุดไดร์วเสียก่อนแล้วค่อยใส่เพาเวอร์ลงไป ก็คือทรานที่ติดกับซิงค์ระบายความร้อนนั้นแระครับ
ถ้าชุดไดร์วเอ้าพุทยังไม่ได้ก็ไม่ต้องใส่เพาเวอร์ไม่งั้นคงต้องเสียเพาเวอร์อีกหลายคู่ มือใหม่ซ่อมแอมป์หลายท่านคง
มีประสบการณ์ การเสียเงินเมื่อซ่อมแอมป์แบบนี้ ถ้าผมได้เคสแอมป์มาจะมาทำให้ดูครับเทคนิคการซ่อมและทริคต่างๆครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น