ส่วนประกอบของ Notebook ก็คล้ายๆ กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วๆ ไป คือ มีซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ จอ ไดรฟ์ต่างๆ ลำโพง กล้อง แต่จะต่างกันที่ถูกเอามารวมอยู่ในตัวเดียวกัน และส่วนต่างตรงนี้ล่ะครับที่ทำให้ได้รับความนิยม และเมื่อประสิทธิภาพที่ดีเทียบเท่าและราคาไม่แตกต่าง ก็ไม่ต้องแปลกใจที่จะมาแทนที่ได้
Processor หรือ "โปรเซสเซอร์"
ตามตำรา Processor มันคือ "ซีพียู" หรื CPU มาจากคำว่า Central Processing Unit หรือแปลเป็นไทยก็หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนและประมวลผลของ Notebook ตอนนี้เท่าที่เห็นในตลาดมีอยู่ 2 ยี่ห้อ คือ คือ อินเทล (Intel) เจ้าพ่อของวงการคอมพิวเตอร์ตัวจริงเสียงจริง เกือบ 80% ของคอมพิวเตอร์ใช้ยี่ห้อ Intel และอีกยี่ห้อที่เป็นคู่กัดกันมาช้านานคือ เอเอ็มดี (AMD) ส่วนเจ้าอื่นก็มีบ้างแต่ไม่พอที่จะมาแข่งขันกับ 2 เจ้านี้
การเลือกซื้อ Notebook ต้องรู้จัก CPU พอสมควร เพราะเจ้า CPU ถูกผลิตออกมาให้เหมาะสมการใช้งานต่างๆ แต่มันเป็นการยากเหมือนกันเพราะมีรุ่นเยอะมาก แยกย่อยลงไปหลายร้อยตัว ก็จะมาค่อยๆ ว่ากันในรายละเอียดแล้วกันครับ แต่ถ้าในตลาดสำหรับผู้ซื้อ ก็จะแบ่งได้หลักๆ เป็น
- ราคาประหยัดก็จะเป็น Intel Atom/Intel Celeron หรือ AMD Sempron ที่เราเห็นๆ กัน Intel Atom 270 ใน Netbook
- ราคาประหยัดแต่คุณภาพดี Intel Pentium Dual Core หรือ AMD Althon ในตลาดตอนนี้ก็เป็น Intel Pentium Dual Core T3200/T3400 หรือ T4200
- ระดับกลางๆ แต่คุณภาพดี 2 แกน พวก Intel Core 2 Duo และ AMD Turion พวกนี้มีตัวคำนวน 2 แกน รุ่นฮิตๆ ตอนนี้เป็น Intel Core 2 Duo T6400
- ระดับสูงมีเยอะมาก Quad Core ถ้าไม่เล่นเกมส์แรงๆ หรือตัดต่อวีดีโอในห้องอัด ก็ไม่ต้องสนใจ
Notebook Memory
Memory หน่วยความจำ
ชาวบ้านอย่างเราเรียกว่า RAM นั่นล่ะครับ เมื่อก่อนยุ่งมากถ้าจะเปลี่ยนหรือเพิ่ม RAM Notebook และถุกขู่ตลอดว่าจะหมดประกันถ้าแกะออกเอง ผู้เขียนสงสัยมากก็มันของเรานี่ จะเปิดดูมันจะเป็นอะไร ถ้าไปแกะโน่นแกะนี่พังไม่ว่าซักคำนอกเรื่องครับ
ปัจจุบันเปลี่ยนเองได้ มีให้เลือกใช้ DDR2 หรือ DDR3 สำหรับการซื้อเครื่องใหม่ก็ขอซัก 1 GB ขึ้นเป็นเป็นอย่างน้อยเพราะถ้า 512 MB ราคาไม่ต่างกัน แล้วก็อย่าลืม Memory มักจะเป็นของแถม ลองทวงถามดูเวลาซื้อ
สำหรับยี่ห้อหรือสเปค ถ้าจะเพิ่มหรือเปลี่ยน แนะนำติดต่อศูนย์บริการดีกว่า แต่ถาจะเปลี่ยนเองก็ต้องดูว่าเครื่องเราเป็นประเภทไหน แบบ DDR2 ถ้ารุ่นใหม่ๆ จะเป็น DDR3 ยี่ิห้อดังๆ ก็เป็น Corsair / Kington /Ultra / Crucial แต่เทคนิคของเราคือ ถือ Notebook ไปที่ร้านขาย ซื้อของเค้าแล้วบอกให้เปลี่ยนให้ด้วย ชัวร์ดี
Chipset หรือ Mainboardหรือตัวฐานวางอุปกรณ์
ถ้าจะแปลเป็นไทย ชิปเซ็ต ก็เป็นแผ่นหรือแท่นสำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ พวกนี้แล้วกันครับ การซื้อบางทีเลือกไม่ได้ เค้าจัดมาให้แล้ว และก็ไม่ต้องเลือกเพราะจะผูกกับ CPU และ การ์ดจอแล้ว เช่น ถ้าจะใช้ Core 2 Duo ก็ต้องใช้ Chipset ที่สนับสนุน CPU ตัวนี้เป็นต้น จะไปใช้ของ AMD ก็จะลำบากหรือใช้ไม่ได้เลย
Chipset มีความสำคัญเพราะเป็นตัวที่มีผลต่ออุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อื่นๆ ทั้งด้านเสียง ความสามารถในการสื่อสาร เพิ่มพลังโปรเซสเซอร์ หรือรองรับความจุการใส่ RAM
ตัวอย่าง Intel GS45 Express มีคุณสมบัติสนับสนุนการถอดรหัสข้อมูล Blu-ray, การสนับสนุนหน่วยความจำ Dual-Channel DDR3 และ DDR2 , System bus สูงถึง 1066 MHz, พอร์ตกราฟิก PCI Express* x16 และพอร์ต PCI Express x1 I/O, Serial ATA และการเชื่อมต่อ USB 2.0 ความเร็วสูง รองรับ HD Video
การ์ดจอ (Graphic Video)
การ์ดจอ คือ ตัวสั่งการแสดงผลของภาพ เป็นตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
- Onboard หรือติดมากับ Chipset ซึ่งส่วนใหญ่ Notebook จะเป็นแบบนี้
- แยกอิสระ ด้วยความต้องการในประสิทธิที่สูงขึ้นของเกม และวิดีโอระดับ HD จึงต้องผลิตแบบแยกเป็นอิสระ บางตัวราคาหลักหมื่น และเรียกว่า CPU ตัวที่ 2 หรือ GPU (Graphic Processor Unit) ยี่ห้อดังๆ เป็น nVidia Gforuce และ ATI Radeon
Monitor หรือ จอภาพ
วิวัฒนาการด้านนี้ไปไกลมากครับเอาว่าปัจจุบันรองรับ HD หรือเป็นจอแบบ LED ที่ประหยัดไฟกว่า คมชัดกว่า แต่ไม่ประหยัดตังค์นะครับ ส่วน Touch Screen มีมานานแล้ว เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่ได้ใช้ของ Notebook จอสัมผัสได้ หรือที่เรียกกันว่า Tablet PC นั่นละครับ แต่เราๆ ท่านๆ LCD ก็พอแล้วครับ ใช้งานได้เหมือนกัน การเลือกใช้ก็ตามแต่ชอบแต่ส่วนใหญ่จะใช้ขนาด 14-15 นิ้ว
Keyboard (คีย์บอร์ด) และ TouchPAD/Tracking Ball
จริงๆ มีมากกว่า 2 ประเภท แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้จัก ให้ลองเข้าไปพิมพืดูถ้าชอบและถนัดถือว่าผ่าน ส่วน TouchPad / Tracking Ball การทำงานคล้ายเม้าส์ ครับลองใช้ดูถ้าตอบสนองดีถือว่า OK แต่ส่วนใหญ่ถ้าจะถนัดจริงๆ ก็เห็นเสียบเม้าส์กันเป็นส่วนใหญ่
Battery แบตเตอรี่
ปัจจุบันใช้ Lithium Ion อายุการใช้งานก็ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ไม่ต้องถอด ต้องแกะครับ ไม่มีผลต่อการเสื่อมของแบตฯ เหมือนเมื่อก่อน แต่การใช้งานให้สังเกตว่าจะหมดหรือยังดีกว่า อย่าให้มันทิ้งคุณไปก่อน หรือดับไมต่อหน้าต่อตา เพราะจะเสียงานได้
อุปกรณ์การเชื่อมต่อ
เอาหลักๆ แล้วกันนะครับ เพราะส่วนนี้มีเยอะมาก แต่ที่ต้องมีคือ Wireless/Wifi , ช่องเสียบสาย LAN, USB 2.0, FireWire หรือ IEEE1394 , LPT , VGA15pin ไม่งั้นใช้งานไม่สะดวก ส่วนเสริมก็พวก ต่อเมาส์ Blutooth/Webcam ก็แล้วแต่ชอบ บางตัวใส่ GPS เข้าไปด้วยก็มี
ที่มา: http://www.siamnotebook.net/index.php/notebook-buying-guide/35-notebook-buying-guide/49-notebook-features?showall=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น